ผลการเรียนรู้วิชา IME ครั้งที่ 4:ระบบสารสนเทศ(Information System)

ผลการเรียนรู้วิชา IME ครั้งที่ 4:ระบบสารสนเทศ(Information System)

                                  สรุปผลการเรียนรู้รายวิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา 
(Information Technology For Education : ISE)ครั้งที่ 4
ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้ 

  • อาจารย์ได้สั้งให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนในบทที่ 2
  • อาจารย์ได้ทำการสอน บทที่ 2 เรื่อง ระบบสารสนเทศ ในระบบอิเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัย โดยที่อาจารย์สอนในตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
    • วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
    • แนวคิดสำคัญ
    • องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
    • ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
    • ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
    • ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
    • ประเภทของระบบสารสนเทศ
  • อาจารย์แนะนำการใช้เว็ปห้องสมุดของมหาวิทยาลัย  Web Opac
  • อาจารย์สอนการติดตั้ง App Cacoo บนเบราว์เซอร์
อาจารย์มอบหมายงาน โครงการ (Project) ให้แก่แต่ละกลุ่ม






สรุปหลังเรียน

ระบบสารสนเทศ
แนวคิดสำคัญ
        สารสนเทศ (Information) มีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการในยุคของการแข่งขันอย่างเช่นปัจจุบัน องค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถบริการหรือให้สารสนเทศที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และทันเวลา มีโอกาสได้เปรียบคู่แข่งขัน  แต่การที่จะได้มาซึ่ง สารสนเทศที่คุณภาพนั้น จะต้องมีระบบสารสนเทศ

ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
- การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
      สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า “ สารสนเทศ ” ก็คือ “ อำนาจ และการรู้จัก “ ค่าแข่งขัน ” และ “ ลูกค้า ” เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานธุรกิจประสบความสำเร็จ ในชีวิตประจำวัน
- การแข่งขันทางการค้า
ระบบสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการแข่งขันขายสินค้าและบริการ ปัจจุบันองค์การธุรกิจหลายแห่งพยายามทีจะจัดทำและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ
- การขยายเครือข่ายทางการค้า
ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการตัดสินใจ และทำให้การขยายการบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยให้สารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว

คุณลักษณะของสารสนเทศ
1. ถูกต้องแม่นยำ ( Accurate )
สารสนเทศที่มีความถูกต้องจะต้องปราศจากข้อผิดพลาด (error) ใด ๆ
2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete)
สารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริง (fact) ที่สำคัญอย่างครบถ้วน
3. เข้าใจง่าย ( Simple)
สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจ
4. ทันต่อเวลา (Timely)
สารสนเทศทีดีนอกจากาจะมีความถูกต้องแล้ว ข้อมูลต้องทัน สมัย และรวดเร็วทัน ต่อเวลาและความต้องการของผู้ใช้ในการตัดสินใจ
5. เชื่อถือได้ (Reliable)
สารสนเทศที่เชื่อได้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของวิธีการรวบรวมที่นำเข้าสู่ระบบ
6. คุ้มราคา (Economical)
สารสนเทศที่ผลิตควรจะต้องมีความประหยัด เหมาะคุ้มค่ากับราคาผู้บริหารมักจะพิจารณาถึงคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ต้องจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งสารสนเทศนั้น ๆ
7. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
สารสนเทศจะต้องตรวจสอบความถูกต้องได้
8. ยืดหยุ่น (Flexible)
สารสนเทศที่มีคุณภาพนั้นควรจะสามารถานำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันหลาย ๆ ด้าน
9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant)
สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และสนองต่อความต้องการของผู้ใช้เพื่อการตัดสินใจ
10. สะดวกในการเข้าถึง (Accessible)
สารสนเทศจะต้องง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลตามระดับสิทธิของผู้ใช้ เพื่อจะได้ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ถูกต้องตามรูปแบบและทันต่อความต้องการของผู้ใช้
11. ปลอดภัย (Secure)
สารสนเทศจะต้องถูกออกแบบและจัดการให้มีความปลอดภัยจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินขององค์การ ซึ่งประโยชน์ของระบบสารสนเทศที่เด่นชัดมีดังนี้
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ระบบสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานมีความถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว
2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
ระบบสารสรเทศมารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อสร้างความพึงพอใจในการให้บริการแก่ลูกค้า
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารสำหรับการสร้างและ ขยายโอกาสทางธุรกิจ
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
ระบบสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น การติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
1.ผู้ปฏิบัติงาน (Workers)
เป็นบุคลากรที่ดำเนินการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ เป็นผู้ที่ทำกิจกรรมประจำวัน ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลและรายงานขององค์การตัวอย่างบุคลากรระดับปฏิบัติงาน
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Managers)
        ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers)
เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย
4. ผู้บริหารระดับสูง (Senior Managers)
เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning) ในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม

ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามชื่อหน่วยงาน
เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลที่รวดเร็วลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน
ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องาการของผู้บริหาร
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน
       ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน (ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง) มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ 
  1. ระบบสารสนเทศการประมวลรายการธุรกรรมข้อมูล (Transaction Processing)       
  2.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS)       
  3.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)       
  4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems: EIS       
  5.  ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)       
  6.  ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น